แผ่นเปลือกโลก
เปลือกโลกมีแผ่นหลายแผ่นเรียงชิดติดกันเรียกว่า เพลต (Plate) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 เพลต เพลตที่มีขนาดใหญ่ ได้แก่ เพลตแปซิฟิก เพลตอเมริกาเหนือ เพลตอเมริกาใต้ เพลตยูเรเซีย เพลตแอฟริกา เพลตอินโดออสเตรเลีย และเพลตแอนตาร์กติก เป็นต้น เพลตทุกเพลตเคลื่อนตัวเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างอยู่ตลอดเวลา ดังภาพ
ทวีปในอดีต
เมื่อมองดูแผนที่โลก หากเราตัดส่วนที่เป็นพื้นมหาสมุทรออก จะพบว่าส่วนโค้งของขอบแต่ละทวีปนั้น โค้งรับกันราวกับนำมาเลื่อนต่อกันได้เสมือนเกมส์ต่อแผนภาพ (Jigsaw) นักธรณีวิทยาพบว่า ตามบริเวณแนวรอยต่อของเพลตต่างๆ มักเป็นที่ตั้งของเทือกเขาสูงและภูเขาไฟ ทั้งบนทวีปและใต้มหาสมุทร การศึกษาการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกด้วยทฤษฎีเพลตเทคโทนิคส์ ประกอบกับร่องรอยทางธรณีวิทยาในอดีตพบว่า เมื่อ 200 ล้านปีก่อน ทุกทวีปอยู่ชิดติดกันเป็นแผ่นดินขนาดใหญ่ เรียกว่า แพนเจีย (Pangaea) โดยมีดินแดนทางตอนเหนือชื่อ ลอเรเซีย (Lawresia) และดินแดนทางใต้ชื่อ กอนด์วานา (Gonwana) ซึ่งแบ่งแยกด้วยทะเลเททิส
หลักฐานสนับสนุนทฤษฎีของเวเกเนอร์
- รอยต่อของเเผ่นธรณีภาค รูปร่างของทวีปบางทวีปเชื่อมต่อกันได้พอดี
- ความคล้ายคบึงกันของกลุ่มหิน เเละเเนววภูเขา กลุ่มหินในอเมริกาใต้เเอนตาร์กติกา แอหริกา ออสเตรเลีย เเละอินเดีย เป็นหินที่เกิดในยุคคาร์บอนิเฟอรัสยุคจูเเรสซิกเหมือนกัน
- หินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนจากธารน้ำเเข็ง
- ซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ มีการพบซากดึกดำบรรพ์ 4 ประเภท คือ มี โซซอรัส ลีสโทรซอรัส ไซโนกาทัส เเละกลอสโซเทรีส ในทวีปต่างๆที่เคยเป็นกอนด์วานา
- อายุบริเวณพื้นมหาสมุทร จากการสำรวจมหาสมุทรแปซิฟิกเเอตเเลนติก เเละอินเดีย พบหินบะซอลต์ที่บริเวณหุบเขาทรุดเเละรอยเเยกบริเวณสันเขาใต้สมุทร
- ภาวะเเม่เหล็กโลกบรรพกาล (ร่องรอยสนามเเม่เหล็กโลกในอีต)ศึกษาจากหินบะซอลต์ที่มีเเร่เเมกนีไทต์
กระบวนการที่ทำให้เกิดการเคลื่อนท่ขิงแผ่นธรณี
- วงจรการพาความร้อน คือ กระบวนการที่สารร้อนภายในไหลเวียนเป็นวงจร ทำไห้เปลือกโลกกลางสมุทรยกตัวขึ้น
- เมื่อสารร้อนไหลเวียนขึ้นมาจะมีความหนาเเน่นเพิ่มขึ้นเเละมุดลงบริเวณร่องลึกใต้สมุทร
ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค
1. ขอบเเผ่นธรณีภาคเเยกออกจากกัน ขอบเเผ่นธรณีภาคเเยกออกจากกัน
เนื่องจากการดันตัวของเเมกมาในชั้นธรณีภาค ทำให้เกิดรอยเเตกในชั้นหินเเข็ง เปลือกโลกตอนบนทรุดตัวกลายเป็นหุบเขาทรุด เมื่อเเมกมาเคลื่อนตัวเเทรกขึ้นมาตามรอยเเยก ทำให้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรเคลื่อนตัวเเยกออกไปทั้งสองข้าง กระบวนการนี้เรียกว่า การขยายตัวของพื้นทะเลเเละปรากฎเป็นเทือกเขากลางมหาสมุทร
2.ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากัน ขอบแผ่นธรณภาคเคลื่อนเข้าหากัน มี 3เเบบ
- แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร
- แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคพื้นทวีป
- แผ่นธรณีภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาคพื้นทวีป
3.ขอบเเผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน
เพราะเเต่ละแผ่นธรณีภาคมี อัตราการเคลื่อนที่ไม่เท่ากันทำให้ไถลเลื่อนผ่านมีลักษณะเป็นเเนวรอยเเตก เเคบยาวมีทิศทางตั้งฉากกับเทือกเขากลางสมุทรเเละร่องใต้ทะเลลึก เกิดแผ่นดินไหวรุนเเรงในระดับต้นๆ ในบริเวณภาคพื้นทวีป หรือมหาสมุทร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น